โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ สุภาพ
๒. โคลง ๓ สุภาพ
๓. โคลง ๔ สุภาพ
๔. โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ
๕. โคลง ๕ หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
๖. โคลง ๔ จัตวาทัณฑี
๗. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ ดั้น
๒. โคลง ๓ ดั้น
๓. โคลงดั้นวิวิธมาลี
๔. โคลงดั้นบาทกุญชร
๕. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
๖. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ ๑๕ กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ ๘ ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้ แบ่งออกเป็น ๘ ชนิด คือ
๑. โคลงวิชชุมาลี
๒. โคลงมหาวิชชุมาลี
๓. โคลงจิตรลดา
๔. โคลงมหาจิตรลดา
๕. โคลงสินธุมาลี
๖. โคลงมหาสินธุมาลี
๗. โคลงนันททายี
๘. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ๖ อย่าง คือ
๑. คณะ
๒. พยางค์
๓. สัมผัส
๔. เอกโท
๕. คำเป็นคำตาย
๖. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ
๑.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
๒.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Free Personal Health and Medical Grade Titanium Earrings
ตอบลบT-shirts created titanium dab tool for tube supplier women who need it all: Essential Accessories, Men's Health Men's titanium cerakote Health Care, trekz titanium pairing Women's Health Care titanium bikes