สำนวน คือหมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้นๆ กะทัดรัด แต่มีความหมายกว้างขวางลึก
ซึ้งชวนให้คิดในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า “ถ้อยคำ
ที่เรียบเรียงโวหาร บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียง
เรื่องนี้ โวหารลุ่มๆ ดอนๆ : ถ้อยคำหรือข้อความที่สืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว
หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น
ผักชีโรยหน้า = การทำความดีเพียงผิวเผิน
คลุมถุงชน = จับชายหญิงที่ไม่ได้คุ้นเคยรู้จักกันมาก่อนแต่งงานกัน
แจงสี่เบี้ย = อธิบายละเอียดชัดเจน
หนามยอกอก = แทงใจอยู่ตลอดเวลา, แสลงใจ
หมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่พูดเอะอะทำทีว่าเก่งกล้า แต่ไม่เก่งจริง
ตีหน้าตาย = ทำหน้าเฉยๆ เหมือนไม่มีความรู้สึกหรือรู้เรื่อง
คำพังเพย คือกลุ่มคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ มีลักษณะติชมหรือแสดงความคิดเห็นอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เพื่อเตือนให้คิดในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า
“คำที่กล่าวไว้ให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง” เช่น
ใกล้เกลือกินด่าง = ไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัว กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า
กิ้งก่าได้ทอง = เย่อหยิ่งเพราะได้ดี หรือมีทรัพย์ขึ้นเล็กน้อย
เกลือเป็นหนอน = คนในบ้านเองคิดคดต่อเจ้าของบ้านโดยทำเรื่องไม่ดีขึ้น
แกว่งเท้าหาเสี้ยน = รนหาเรื่องเดือดร้อน
อ้อยเข้าปากช้าง = สิ่งของหรือเงินให้คนอื่นไปแล้ว เอาคืนได้ยาก
กำปั้นทุบดิน = ส่งเดชอย่างขอไปที
ย้อมแมวขาย = หลอกลวงเอาง่าย ๆ โดยเอาของไม่ดีมาตกแต่งเสียใหม่ให้หลงเชื่อว่าดี
ไม้งามกระรอกเจาะ = หญิงงามมักไม่บริสุทธิ์
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม = ใช้ความพยายามเต็มกำลังไม่ท้อถอย
ปิดทองหลังพระ = ทำความดีที่ไม่ปรากฏให้คนเห็น แล้วไม่ได้รับความยกย่องเพราะไม่มี
ใครเห็นคุณค่า
ข้าว
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น