กาพย์ หรือ คำกาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีลักษณะวรรคที่ค่อนข้างเคร่งครัด คล้ายกับฉันท์ แต่ไม่บังคับครุ ลหุ วรรคหนึ่งมีคำค่อนข้างน้อย (4-6 คำ) นิยมใช้แต่งร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือแต่งร่วมกับฉันท์ก็ได้
กาพย์เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา มีทั้งที่แต่งเป็นหนังสืออ่านเล่น แต่งเป็นหนังสือสวด หรือเป็นนิทาน กระทั่งเป็นตำราสอนก็มี
กาพย์มีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน โปรดดูรายละเอียดของแต่ละชนิด ตามหัวข้อต่อไปนี้
กาพย์ฉบัง ๑๖
กาพย์ฉบังนาคบริพันธ์ ๑๖
กาพย์ยานี ๑๑
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
กาพย์สุรางคนางค์พิเศษ (กากคติ)
กาพย์ธนัญชยางค์ ๓๒
กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ (กาพย์ขับไม้)
กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง จำพวกกาพย์ มักจะเขียนรวมอยู่ในหนังสือประเภทคำฉันท์ หรือคำกาพย์ มีลักษณะสั้น กระชับ จึงมักจะใช้บรรยายความที่มีการเคลื่อนไหว กระชับ ฉับไว แต่ก็มีบ้าง ที่ใช้กาพย์ฉบับบรรยายถึงความงดงาม นุ่มนวลก็มี
กาพย์ฉบัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์ฉบัง 16 เนื่องจากมีจำนวนคำ 16 คำ ในหนึ่งบท บ้างก็เรียกว่า กาพย์ 16
กาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ยานี คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ
กาพย์ยานี มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์
กาพย์สุรางคนางค์ จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ มีลักษณะเฉพาะคือ หนึ่งวรรคมี 4 พยางค์ หนึ่งบทมี 7 วรรค รวมบทหนึ่งจึงมี 28 พยางค์ (คล้ายกับกลอนสี่ที่ไม่มีวรรคที่หนึ่ง) ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น