วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

วรรณกรรมพื้นบ้าน

วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เป็นต้น ซื่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดเป็นเอกลักษณ์
วรรณกรรมที่สื่อเรื่องราวด้านต่างๆ ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จารีตประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ อันเป็นพื้นฐานของความคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน

ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน
1.เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากมุขปาฐะ คือ เป็นการเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและแพร่หลายกันอยู่ในกลุ่มชนท้อถิ่น
2.เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกข้อมูลด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนท้องถิ่น อันเป็นแบบฉบับให้คนยุคต่อมาเชื่อถือและปฏิบัติตาม
3.มักไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก
4.ใช้ภาษาท้องถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ สื่อความหมายตรงไปตรงมา
5.สนองความต้องการของกลุ่มชนในท้องถิ่น เช่น
1.เพื่อความบันเทิง
2.เพื่ออธิบายสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่เข้าใจ
3.เพื่อสอนจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและพฤติกรรมด้านต่างๆ

ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน
1.จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ
1.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ (วรรณกรรมล้านนา)
2.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้
4.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง

2.จำแนกตามวิธีการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ
1.วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2.วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ อันเป็นพื้นฐานของความคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน


ประเภทวาจา คือ วรรณกรรมที่ใช้วิธีการถ่ายทอด หรือสื่อสารต่อกันด้วยภาษาพูด โดยการบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง การสนทนาซักถาม การอบรมสั่งสอน รวมถึงการขับร้องเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ ได้แก่ นิทาน, บทเพลง เช่น ฮ่ำ จ๊อย และ ซอ, ภาษา สำนวน คำพังเพย หรือคำคมต่าง ๆ, ปริศนาคำทาย, คำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว หรือ คำอู้บ่าวอู้สาว หรือ คำค่าวคำเครือ, โวหารหรือคำกล่าวเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น คำเวนตาน คำฮ้องขวัญ

ประเภทลายลักษณ์ คือ วรรณกรรมที่ใช้วิธีถ่ายทอดหรือสื่อสารต่อกันด้วยภาษาเขียน โดยมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือในอดีตจะบันทึกด้วย ตัวอักษรธรรม และ ตัวอักษรฝักขาม มีเนื้อหาและรูปแบบคำประพันธ์ที่หลากหลาย การแบ่งประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือที่เป็นลายลักษณ์ อาจจะแบ่งได้ดังนี้
- ตามวัตถุที่ใช้บันทึก มี 3 ประเภท ได้แก่ ศิลาจารึก ใบลาน และปั๊บสา (สมุดกระดาษสาหรือสมุดไทย)
- แบ่งตามรูปแบบคำประพันธ์ ได้แก่ วรรณกรรมร้อยแก้วและวรรณกรรมร้อยกรอง ซึ่งเท่าที่พบมี 3 ประเภท คือ โคลง ร่าย และค่าว (หรือค่าวซอ)
- แบ่งตามเนื้อหาของเรื่อง ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาในวรรณกรรมลายลักษณ์มักจะเกี่ยวพันกับพุทธศาสนา แต่ก็มีเนื้อหาที่หลายหลายไม่น้อย แบ่งได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ คือ วรรณกรรมประเภทนิทานชาดก, วรรณกรรมประเภทประวัติและตำนาน, วรรณกรรมประเภทคำสอน, วรรณกรรมประเภทตำรับตำราต่าง ๆ เช่น ตำราดูฤกษ์ยาม โหราศาสตร์ กฎหมาย ประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ และ วรรณกรรมประเภทแสดงอารมณ์รัก เช่น ค่าวพญาพรหม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น